คอร์ติซอลดีหรือไม่ ?

Written by:

Wesley Lo

Wesley Lo

Wesley is a health and fitness coach in Hong Kong, with a passion for finding ways to improve health, longevity and athletic performances.

Share:

Share on facebook
Share on twitter
Share on whatsapp
Share on linkedin
Share on telegram

ADVERTISMENT

มีกี่คนที่เคยได้ยินว่าคอร์ติซอลไม่ดีต่อร่างกาย ? เพราะมีผลต่ออารมณ์ การนอนหลับ การสะสมไขมัน การดื้ออินซูลิน ความหิว ผิวหนัง และระบบภูมิคุ้มกัน แต่จริงหรือเปล่าที่ว่าคอร์ติซอลไม่ดีต่อร่างกาย ? แล้วถ้ามันไม่ดีจริง ทำไมเราไม่พยายามทำให้ร่างกายหยุดผลิตมันออกมาล่ะ ?

คอร์ติซอลเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นฮอร์โมนความเครียด เวลาที่คุณรู้สึกกลัวหรืออันตราย (ปัจจัยภายนอก) หรือป่วยหรือวิตกกังวล (ปัจจัยภายใน) มันจะไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งอดรีนาลินและคอร์ติซอลออกมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของโหมดที่เรียกว่า “สู้หรือหนี” ซึ่งถ้าไม่มีโหมดนี้จะทำให้เราตอบสนองต่อภัยอันตรายช้า

นอกจากนี้ คอร์ติซอลยังมีบทบาทหลักในการทำงานต่างๆ ของร่างกาย เช่น :

  • ช่วยสมองสร้างความทรงจำ
  • ช่วยให้ตื่นและรู้สึกตื่นตัว
  • ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย
  • ช่วยการเผาผลาญพลังงาน
  • ช่วยจัดการระดับการเก็บน้ำและเกลือในร่างกาย
  • ช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือด
  • ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ คอร์ติซอลยังมีความสำคัญต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์

ดังนั้นเราจึงต้องมีคอร์ติซอลเพื่อการทำงานของร่างกายส่วนใหญ่ แต่ถ้าร่างกายผลิตคอร์ติซอลมากเกินไป ก็มีความเสี่ยงต่อ Cushing’s syndrome และทำให้น้ำหนักเพิ่มในส่วนพุง ใบหน้า หรือ หน้าอก ความดันสูง กล้ามเนื้ออ่อนแอ มีปัญหาด้านอารมณ์ หรือเกิดรอยช้ำตามร่างกาย

โดยจะมีปริมาณหลั่งสูงสุดในตอนเช้าประมาณ 6-7 โมงเช้า แล้วค่อยๆ ลดลงในตอนบ่ายจนระดับต่ำสุดเวลาประมาณสองถึงสามทุ่ม หลังจากนั้น กระบวนการผลิตเมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนนอนหลับจะเริ่มขึ้นเพื่อทำให้เราเข้าสู่โหมดพักผ่อน มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตคอร์ติซอลในตอนกลางคืน เช่น การออกกำลังกายอย่างหนักในตอนกลางคืน การดูจออิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน และความเครียดจากการทำงานจนดึกดื่น

ค่าอ้างอิงระดับคอร์ติซอลในตอนเช้า คือ : 130–550 nmol/L. ไม่ควรสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป ที่ดีที่สุดคือประมาณกึ่งกลางของช่วง

ถ้าอย่างนั้น มีอะไรที่ช่วยลดการผลิตและระดับคอร์ติซอลได้ ?

มีหลายปัจจัยที่เพิ่มระดับคอร์ติซอล เช่น :

  • คาเฟอีน
  • สูบบุหรี่
  • ดื่มจัด
  • ความคิดแง่ลบ
  • พฤติกรรมกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
  • ความเครียดจากการทำงาน
  • การออกกำลังกายนานๆ
  • อดนอน
  • ความสัมพันธ์เป็นพิษ

การจัดการระดับคอร์ติซอลและความเครียดเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกัน Cushing’s syndrome. ถ้าคุณคิดว่าคุณอาจมีระดับคอร์ติซอลสูง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเลือด

เพื่อลดระดับคอร์ติซอล ควรจะ:

  • นอนหลับให้เพียงพอ
  • ออกกำลังอย่างพอเหมาะ
  • เที่ยวธรรมชาติ
  • นวด
  • ทำสมาธิ
  • ฝึกหายใจเข้าออก
  • มีความสัมพันธ์ที่ดี
  • กินอาหารโฮลฟู้ด

สุดท้าย คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนที่สำคัญในร่างกายและทำหน้าที่ในการปรับสมดุลการทำงานต่างๆ ของร่างกาย แต่โชคร้ายที่ในสังคมปัจจุบันที่เน้นแต่เชิงพาณิชย์ มีปัจจัยต่างๆ ที่บิดเบือนความหมายที่แท้จริงของคำว่าความสุขและความรักตนเอง

คุณควรลองใช้เวลา 10 นาทีในแต่ละวันอยู่ตามลำพัง ฟังดนตรีผ่อนคลาย ฝึกกำหนดลมหายใจเข้าออก หรือทำสมาธิ กิจวัตรง่ายๆ เช่นนี้จะช่วยให้คุณมีชีวิตที่มีความสุขมากยิ่งขึ้นในระยะยาว