closeup of a young caucasian man with a simulated PrEP pill in his hand

ตอบคำถามที่ถามบ่อยเกี่ยวกับ PrEP

Written by:

PULSE Clinic

PULSE Clinic

Established in Bangkok, PULSE Clinic is a gay-owned private clinic whose mission is to promote and provide excellence in standards of care and education in sexual wellbeing, HIV and related infections, and to actively engage in the formulation of public health policy and research, with the aim of reducing HIV disease burden worldwide.

Share:

Share on facebook
Share on twitter
Share on whatsapp
Share on linkedin
Share on telegram

ADVERTISMENT

ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณควรรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ PrEP ถ้าคุณกำลังคิดจะใช้ PrEP :

PrEP คืออะไร ?

PrEP ย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis คือการใช้ยาต้านเชื้อเอชไอวีเพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ยังไม่มีเชื้อติดเชื้อ PrEP ได้รับการศึกษาว่ามีความปลอดภัยและได้ผลในการป้องกัน สามารถป้องกันเอชไอวีอย่างได้ผลมากเมื่อกินทุกวันๆ ละเม็ด เพราะยาจะไปขัดขวางเอชไอวีไม่ให้เพิ่มจำนวนในร่างกายถ้าคุณได้รับเชื้อเข้าไป ทำให้เอชไอวีไม่สามารถปักหลักในร่างกายจนทำให้ป่วยได้

PrEP นี้ใช้สำหรับทั้งฝ่ายรุกและรับหรือเปล่า ?

ใช่แล้ว แม้ว่าฝ่ายรับจะมีความเสี่ยงมากกว่าแต่ฝ่ายรุกก็สามารถติดเชื้อเอชไอวีได้เช่นเดียวกัน โดยฝ่ายรุกที่ไม่ขลิบอวัยวะเพศมีโอกาสสูงมากขึ้นเล็กน้อย และฝ่ายรุกก็อาจมีความกังวลเกี่ยวกับการได้รับเชื้อเอชไอวีด้วยเช่นกัน ดังนั้นการใช้ PrEP จึงช่วยในเรื่องนี้ได้

การใช้ PrEP มีผลระยะยาวหรือไม่ ?

PrEP ได้รับการอนุมัติในปี 2547 นั่นคือมีมากว่าสิบปีแล้ว และก่อนหน้านั้น ยังใช้เป็นยารักษาเอชไอวีสำหรับผู้ติดเชื้อหรือได้รับเชื้อ (มีโมเลกุลที่ใช้ในยารักษาเอชไอวี) ผลข้างเคียงที่แย่ที่สุดที่เคยมีการรายงานคือเสียความหนาแน่นของเกลือแร่ในกระดูกและการทำงานของไตลดลง ปลอดภัยหรือเปล่า? ปลอดภัย พูดง่ายๆ คือ แม้กต่นักวิทยาศาสตร์ยังแยกไม่ได้ว่ามีผลมากไปกว่าการแก่ชราตามปกติหรือไม่ ในสหรัฐอเมริกามีคนใช้ PrEP มานานหลายปี

แพทย์จะตรวจการทำงานของตับและไตของคุณ และตรวจหาเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ทุกสามเดือน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีปัญหา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งตามปกติของการอัพเดทสถานะแต่ละครั้ง หากคุณกังวลเกี่ยวกับผลของการใช้ PrEP ควรคุยกับหมอ

เคยได้ยินมาว่า PrEP ทำให้เชื้อเอชไอวีกลายพันธุ์จริงหรือเปล่า ?

ไม่จริงเลย PrEP ทำงานโดยการขัดขวางไม่ให้เชื้อไวรัสเจาะเข้าไปในเซลล์ เมื่อเชื้อไวรัสไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ได้ก็จะไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ การกลายพันธุ์นั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อไวรัสขยายพันธุ์ ดังนั้นถ้าเซลไม่มีการติดเชื้อก็ย่อมไม่มีการกลายพันธุ์ แต่ทั้งนี้ก่อนจะเริ่ม PrEP คุณต้องไม่มีเชื้อเอชไอวีในร่างกาย เพราะถ้าเชื้อไวรัสกำลังขยายพันธุ์ในร่างกายของคุณอยู่แล้ว การใช้ PrEP อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการดื้อยา และหมออาจต้องให้คุณลองใช้ยาตัวอื่น ดังนั้นก่อนใช้ PrEP หมอจะตรวจให้แน่ใจก่อนว่าคุณไม่มีเชื้อเอชไอวี

ควรบอกคนอื่นไหมว่ากำลังใช้ PrEP อยู่ ?

ขึ้นอยู่กับคุณคนเดียวเท่านั้น บางคนภูมิใจที่จะบอกคนอื่นว่าใช้ PrEP อยู่ ซึ่งจะช่วยทำลายอคติเหมารวมผิดๆ และแสดงให้เห็นว่าคุณเลือกใช้ PrEP เพื่อดูแลสุขภาพตัวเอง นอกจากนี้ยังแสดงให้คนอื่นรู้ว่าการป้องกันเอชไอวีเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณ อย่างไรก็ดี เราก็ควรเคารพการตัดสินใจของคนอื่นด้วยเช่นกัน ถ้าคู่ของคุณต้องการใช้ถุงยางอนามัยก็เป็นสิทธิของเขา และเขาไม่จำเป็นที่จะต้องเชื่อคำพูดของคุณว่าคุณปลอดภัย แน่นอนว่าเค้าก็สามารถใช้ PrEP ได้เช่นกัน ซึ่งทำให้เขาควบคุฒความปลอดภัยของตัวเองได้อย่างสมบูรณ์

จะใช้ PrEP เพื่อป้องกันเอชไอวีเพิ่มจากถุงยางอนามัยที่ใช้อยู่แล้วเป็นประจำได้ไหม ?

ได้แน่นอน หากคุณกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ถุงยางแตก หลุด หรือคู่ของคุณไม่ใส่ถุงยาง PrEP จะช่วยลดความกลัวและความกังวลได้ บางคนอาจอยากใช้เพื่อช่วยป้องกันเพิ่มอีกชั้นหนึ่ง ซึ่่งก็เป็นเรื่องดี แพทย์พยาบาลยังใช้ PrEP เพื่อป้องกันกันการติดเชื้อเอชไอวีหากถูกเข็มทิ่ม เพราะ PrEP ได้ผลเชื่อถือได้ คนใช้ PrEP ยังบอกว่าช่วยให้หายจากความกลัวที่แม้แต่ตัวเองยังไม่เคยรู้มาก่อนว่ากลัว

ถ้าลืมกินยาจะทำอย่างไร ?

การศึกษาในปัจจุบันแสดงว่า PrEP นั้นยังได้ผลดีแม้ว่าจะลืมกินไปหนึ่งวัน และยังแสดงให้เห็นด้วยว่าคนที่กินยา PrEP อย่างน้อยสี่ในเจ็ดวันไม่ติดเชื้อเอชไอวี แต่เราแนะนำเป็นอย่างยิ่งให้คุณกินวันละครั้ง เพราะป้องกันได้สูงสุด และถ้าคุณไม่กินทุกวันอย่างสม่ำเสมอ ก็เสี่ยงที่จะหลงลืมและทำให้ผลงานที่อุตส่าห์ทำมาต้องเสียไปทั้งหมด เพราะงั้นกินยาวันละเม็ดดีกว่า ทุกคนจะได้แฮปปี้และปลอดภัย