โควิด-19 เป็นอันตรายต่อผู้มีเชื้อเอชไอวีมากกว่าคนอื่นหรือไม่?

Written by:

PULSE Clinic

PULSE Clinic

Established in Bangkok, PULSE Clinic is a gay-owned private clinic whose mission is to promote and provide excellence in standards of care and education in sexual wellbeing, HIV and related infections, and to actively engage in the formulation of public health policy and research, with the aim of reducing HIV disease burden worldwide.

Share:

Share on facebook
Share on twitter
Share on whatsapp
Share on linkedin
Share on telegram

ADVERTISMENT

ถ้าคุณอยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีหรือรู้จักคนที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี คุณอาจสงสัยว่าเชื้อโควิด-19 เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อมากกว่าคนอื่นหรือไม่ เราจะช่วยตอบข้อสงสัยของคุณดังต่อไปนี้:

Q: โควิด-19 คืออะไร?

A: โควิด-19 เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโคโรนาไวรัสที่เพิ่งค้นพบใหม่ โคโรนาไวรัสเป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่สามารถทำให้เกิดโรคในสัตว์หรือมนุษย์ โดยในมนุษย์นั้นมีเชื้อโคโรนาไวรัสหลายตัวที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อในทางเดินหายใจ ตั้งแต่เชื้อหวัดธรรมดาไปจนถึงโรครุนแรง เช่น เมอร์ส / Middle East Respiratory Syndrome (MERS) และซาร์ส / Severe Acute Respiratory Syndrome (SARS).

เราสามารถติดเชื้อโควิด-19 ได้จากคนอื่นที่มีเชื้อไวรัสนี้ โดยเชื้อนี้กระจายจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ผ่านละอองอากาศเล็กๆ จากจมูกหรือปาก ที่กระจายออกมาตอนไอหรือหายใจออก ละอองอากาศนี้จะตกลงบนวัตถุหรือพื้นผิวรอบตัว คนอื่นที่ไปสัมผัสกับวัตถุหรือพื้นผิวนี้ แล้วใช้มือสัมผัสตา จมูก หรือปาก ก็จะติดเชื้อโควิด-19 ได้ นอกจากนี้ยังสามารถติดโควิด-19 ได้ถ้าหายใจเอาละอองอากาศนี้เข้าไป นี่คือสาเหตุที่ควรอยู่ห่างจากคนมีอาการป่วยมากกว่าหนึ่งเมตร

Q: โควิด-19 เป็นอันตรายต่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีหรือไม่?

A: ข้อมูลจากการศึกษาในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าปัจจัยเสี่ยงหลักต่อการเสียชีวิตด้วยโควิด-19 คือ อายุมาก และปัจจัยความเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง และความดันสูง

ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีที่ยังไม่ได้เริ่มรักษา หรือยังไม่ได้กดไวรัสได้สำเร็จ (ตรวจไม่พบไวรัส) ด้วยยาต้านไวรัส อาจมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและเกิด โรคลุกลามได้

ดังนั้น ถ้าคุณรู้ว่าคุณมีเชื้อเอชไอวีและยังไม่ได้รับการรักษา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเริ่มรักษาและกดเชื้อไวรัสจนอยู่ในระดับตรวจไม่พบเชื้อไวรัสอย่างต่อเนื่อง

ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีควรใช้มาตรการระมัดระวังเช่นเดียวกับผู้อื่น (เช่น ล้างมือบ่อยๆ ไอจามอย่างถูกวิธี หลีกเลี่ยงไม่ใช้มือสัมผัสใบหน้า เว้นระยะทางกายภาพ เข้ารับการรักษาถ้ามีอาการ แยกตัวอยู่ต่างหากถ้าได้ติดต่อหรือพบกับผู้ที่มีเชื้อ โควิด-19 รวมถึงมาตรการอื่นๆ ที่รัฐบาลชี้แนะ)

Q: โควิด-19 มีผลอย่างไรกับผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีที่ตรวจไม่พบเชื้อไวรัสแล้ว?

A: จนถึงตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานที่ชี้ว่าผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีมีความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือมีอาการรุนแรงมากกว่าคนอื่น และปัจจุบันยังไม่มีรายงานการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี แต่สถานการณ์อาจเป็นแปลงได้อย่างรวดเร็วเมื่อเชื้อไวรัสระบาดมากขึ้น

ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีที่กำลังรักษาด้วยยาต้านไวรัสควรตุนยาต้านไวรัสไว้อย่างน้อย 30 วันหรือแม้แต่สามถึงหกเดือน และฉีดวัคซีนให้ครบตามกำหนด (เช่นไข้หวัดใหญ่และ pneumococcal)

Q: PrEP ช่วย ป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่?

A: ไม่ได้ ไม่มีหลักฐานสนับสนุนให้คนที่ไม่มีเชื้อเอชไอวีใช้ยาต้านไวรัสป้องกันโรคอื่นใดนอกจากเอสไอวี PrEP ได้รับการพิสูจน์ว่าได้ผลและแนะนำให้ใช้ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีเท่านั้น ควรกินยา PrEP ตามที่แพทย์สั่ง ปัจจุบันไม่มีหลักฐานใดสนับสนุนว่า PrEP ได้ผลต่อโควิด-19.

Q: กินยาต้านเอชไอวีอื่นเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้มั้ย?

A: ไม่ได้ ในตอนนี้ มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ยาต้านเชื้อเอชไอวีบางชนิดที่อาจมีปฏิกิริยาต่อเชื้อโควิด-19 การศึกษาทางคลินิกของการใช้ยา lopinavir/ritonavir พบว่าไม่เป็นประโยชน์ไปมากกว่าการใช้รักษาตามมาตรฐานในกลุ่มผู้ใหญ่199 รายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการป่วยจากโควิด-19 รุนแรง