ชายไบเซ็กช่วลเสี่ยงต่อความผิดปกติด้านการกินมากกว่าผู้ชายที่เป็นเกย์หรือรักต่างเพศ: ผลการศึกษา

Written by:

Yen Feng

Yen Feng

Yen is a freelance editor and yoga instructor at @yen.yoga on Instagram/TikTok and @yenyogasg on Telegram.

Share:

Share on facebook
Share on twitter
Share on whatsapp
Share on linkedin
Share on telegram

ADVERTISMENT

ถ้าคุณเป็นชายไบเซ็กช่วล ดูเหมือนคุณจะมีแนวโน้มเสี่ยงต่อความผิดปกติด้านการกินมากกว่าผู้ชายที่เป็นเกย์หรือรักต่างเพศ

จากผลการรายงานการศึกษาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานฟรานซิสโก (UCSF) ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Eating and Weight Disorders ซึ่งชี้แนวโน้มว่าผู้ชายที่เป็นไบเซ็กช่วลมีความเสี่ยงต่อนิสัยการกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพ แม้ที่ผ่านมาจะมีหลายการศึกษาแสดงว่าเกย์มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการกินผิดปกติ รวมถึงการอดอาหาร ออกกำลังกายเกินควร และหมกมุ่นกับน้ำหนักและรูปร่าง

ในการศึกษากับผู้ใหญ่ มากกว่า 4500 คน 25% ของชายไบเซ็กช่ว รายงานว่า เคยอดอาหารเกิน 8 ชั่วโมง เพื่อคุมน้ำหนักหรือรูปร่าง เมื่อเทียบกับ 20% ในชายที่เป็นเกย์ นอกจากนี้ ประมาณ 80% ของชายไบเซ็กช่วลยังรายงานว่ารู้สึกอ้วน และ 77% มีความต้องการลดน้ำหนักอย่างมาก เมื่อเทียบกับ 79% และ 75% ในชายที่เป็นเกย์และชายรักต่างเพศตามลำดับ

แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคนที่คุมอาหารหรือรู้สึกอ้วนจะมีความผิดปกติด้านการกิน ดอกเตอร์ เจสัน นากาตะ ศาสดาจารย์ด้านกุมารเวช ที่ UCSF และหนึ่งในผู้ร่วมวิจัยกล่าว “มันเป็นแถบสเปกตรัมมากกว่า เริ่มจากความกังวลเล็กน้อยไปจนถึงจุดพลิกผันกลายเป็นความหมกมุ่นผิดปกติเกี่ยวกับน้ำหนักและรูปร่าง”

จากผู้ตอบคำถามทั้งหมดนี้ มีชายไบเซ็กช่วล 3.2% ที่เคยถูกวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติด้านการกิน เปรียบเทียบกับ 2.9% ในชายที่เป็นเกย์ และ 0.6% ในชายรักต่างเพศ จากการศึกษาวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเยล

ดอกเตอร์นากาตะกล่าวว่า ความขัดแย้งของข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นความจำเป็นที่ต้องศึกษาความผิดปกติด้านการกินของคนที่มีอัตลักษณ์ต่างกันแยกออกจากกัน “การศึกษาในอดีตที่ผ่านมาเกี่ยวกับความผิดปกติด้านการกินในกลุ่มชายที่มีอัตลักษณ์ทางเพศส่วนน้อย มักจะรวมเอากลุ่มเกย์กับชายไบเซ็กช่วลไว้ด้วยกัน ทำให้ยากที่จะเข้าใจลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของชายไบเซ็กช่วลได้”

“มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลในเรื่องนี้รวมถึงความเครียดของการเป็นคนกลุ่มน้อย ซึ่งหมายถึงความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นของประชากรชายขอบที่อาจทำให้เกิดอาการด้านสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ”

“คน LGBTQ มักประสบกับการตีตราและเลือกปฏิบัติ และปัจจัยกระตุ้นความเครียดเหล่านี้สามารถทำให้เกิดการกินผิดปกติได้ ” ดร.นากาตะกล่าวเสริม “สำหรับชายไบเซ็กช่วลนั้นไม่ได้เจอแค่การตีตราจากชุมชนคนรักต่างเพศอย่างเดียว แต่ยังมาจากชุมชนเกย์ได้อีกด้วย”

นักเขียนไบเซ็กช่วล Zachary Zane กล่าวว่า “การถูกเลือกปฏิบัติซ้ำซ้อนนี้มักนำไปสู่ความรู้สึกเหงา ซึมเศร้า และกลัวที่จะเปิดเผยตัวตนได้”

“เราเจอกับการรังเกียจเดียดฉันท์จากทั้งสองฝั่ง หรือถ้าเราได้รับการต้อนรับในโลกของเกย์ก็เพราะว่าเราปิดบังตัวตนที่แท้จริงของเราไว้” “เมื่อคุณรู้สึกว่าทุกอย่างอยู่เหนือการควบคุมของคุณ [food]เป็นอย่างนึงที่คุณสามารถควบคุมได้” ผมเข้าใจเลยว่าทำไมมันถึงกลายเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจได้”

ประมาณ 30% ของชายไบเซ็กช่วลในการสำรวจนี้รายงานว่า กลัวเสียความควบคุมในการกิน และเกือบหนึ่งในสามกล่าวว่าไม่ค่อยมีสมาธิในการทำงานหรือกิจกรรมอื่นๆ เพราะมัวแต่คิดเกี่ยวกับเรื่องอาหาร การกิน หรือแคลอรี่

แม้ว่าในรายงานนี้ มีความคล้ายกันระหว่างชายเกย์และชายไบเซ็กช่วลในเรื่องการกินแบบไม่บันยะบันยังนั้น แต่การศึกษาในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยสมาคมจิตเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา ในปี 2018 พบว่าชายไบเซ็กช่วลมีแนวโน้มที่จะกินแบบไม่ยับันยะบันยังมากกว่าเพื่อนร่วมชั้นที่เป็นเกย์สามเท่าและมากกว่าเพื่อนร่วมชั้นที่เป็นชายรักต่างเพศห้าเท่า

Same Author

Get The Latest Updates

Subscribe To Our Newsletter

No spam, notifications only about new articles.