โควิดกำลังทำร้ายสุขภาพจิตของคุณอยู่หรือเปล่า เรามีข้อแนะนำ

Written by:

Yen Feng

Yen Feng

Yen is a freelance editor and yoga instructor at @yen.yoga on Instagram/TikTok and @yenyogasg on Telegram.

Share:

Share on facebook
Share on twitter
Share on whatsapp
Share on linkedin
Share on telegram

ADVERTISMENT

การเป็นเกย์ในเอเชียก็ยากลำบากพอตัวอยู่แล้ว เพราะวัฒนธรรมและสังคมไม่ยอมรับหรืออย่างมากก็แค่ทนกับเกย์ หรือที่ยิ่งแย่ไปกว่านั้นคือความเครียดที่เกิดจากกลัวถูกเปิดเผยตัวตน ตกเป็นเป้า หรือถูกลงโทษ ยิ่งทำให้เครียดและทำร้ายสุขภาพจิตได้

ยิ่งมีโควิดเข้ามาผสมด้วย ก็ยิ่งเป็นวิกฤติการณ์สุขภาพจิตที่รอวันปะทุ

จากข้อมูลของ UNAIDS ซึ่งเป็นหน่วยงานสหประชาชาติที่มีหน้าที่ในการต่อสู้กับเอชไอวีเอดส์ในระดับโลก พบว่า แม้แต่ตอนก่อนโควิดระบาด ชาวสีรุ้งก็มีปัญหาสุขภาพทางจิตใจและอารมณ์ในสัดส่วนที่มากกว่าประชากรทั่วไปอยู่แล้ว

ปัญหาเหล่านี้สามารถแสดงออกมาได้ในรูปความซึมเศร้า ความวิตกกังวล หรือแม้แต่ความคิดทำร้ายตัวเอง ซึ่งยิ่งอาจแย่ลงไปอีก จากการต้องอยู่คนเดียวหรืออยู่กับครอบครัวที่อาจทำให้ประสบความรุนแรงด้วยสาเหตุเพศสภาพ

ในสหรัฐอเมริกา Rob Todaro ซึ่งเป็นผู้จัดการด้านการสื่อสารของ เทรเวอร์โปรเจ็คต์ ซึ่งเป็นศูนย์ฮอตไลน์ 24 ชั่วโมงเพื่อช่วยเหลือเยาวชนสีรุ้งในภาวะวิกฤต กล่าวไว้ในการสำรวจเร็วๆ นี้ว่า หนึ่งในสามของชาวสีรุ้งไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ที่บ้าน และหนึ่งในสามของเยาวชนที่เป็นคนข้ามเพศและนอนไบนารี่รู้สึกไม่ปลอดภัยเกี่ยวกับสถานการณ์ชีวิตของตัวเอง ตั้งแต่โควิดเริ่มแพร่ระบาด

ถ้าคุณมีปัญหาสุขภาพจิตและอารมณ์ในช่วงโควิดระบาด เรามีข้อแนะนำที่สามารถช่วยคุณและเป็นแนวทางให้กับครอบครัว ผู้ดูแล หรือผู้ให้การช่วยเหลืออื่นๆได้

หาเครือข่ายสนับสนุน

การมีเครือข่ายที่เข้มแข็งสนับสนุน เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาสุขภาพจิต

คุณควรพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัวคนอื่นๆ ที่อายุใกล้กันหรืออยู่ในช่วงชีวิตเดียวกัน ที่เข้าใจว่าคุณกำลังเผชิญอะไรอยู่ โดยอาจจะเป็นเกย์หรือไม่ใช่เกย์ก็ได้ หรืออาจเป็นผู้อื่นที่มีความสนใจคล้ายกับคุณ เพราะคุณไม่ควรปลีกตัวคนเดียว แม้คุณจะเชื่อว่าตัวเองเข้มแข็งเพียงพอที่จะฟันฝ่ากับวิกฤตโควิดนี้ไปได้ตามลำพังก็ตาม

ถ้าคุณไม่สามารถเจอกันแบบตัวเป็นๆ ได้ ก็ให้ส่งข้อความหรือนัดคุยกันผ่านวีดีโอคอลก็ได้ การได้ติดต่อสัมพันธ์เชิงบวกแบบนี้มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีทางจิตใจ และช่วยคุณต่อสู้กับความรู้สึกเหงาและซึมเศร้าได้

สร้างกิจวัตรประจำ

ในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนเช่นนี้ การสร้างกิจวัตรประจำให้กับตนเองนั้นสามารถช่วยคุณได้ การมีตารางกิจกรรมประจำวันเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะสำหรับชาวฟรีแลนซ์ที่อาจมีหรือไม่มีชั่วโมงทำงานปกติ

การมีตารางกิจวัตรจะช่วยให้ใช้เวลาได้อย่างเป็นรูปเป็นทรงและช่วยสร้างความแน่นอนที่รู้สึกได้ ซึ่งจะช่วยลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนในอนาคต สำหรับตัวผม ผมชอบเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการทำสมาธิเบาๆ 15 นาที ยืดเส้นยืดสาย แล้วอ่านหนังสือ ก่อนจะเริ่มทำงานเขียนและอีดิทงาน

ส่วนในตอนบ่าย ผมจะเผื่อเวลาไว้ 2 ชั่วโมงสำหรับออกกำลัง และเตรียมเข้านอนก่อนห้าทุ่ม

กลับสู่ธรรมชาติ

ผมเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปก่อนหน้านี้แล้วที่นี่ ซึ่งเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการไม่หมกมุ่นอยู่กับตัวเอง ถ้าเป็นไปได้ คุณควรหาเพื่อนไปทำกิจกรรมกลางแจ้งร่วมกัน เช่น ไปเดินเล่นท่ามกลางธรรมชาติ หรือเล่นโยคะ นอกจากนี้การทำสมาธิก็ช่วยได้

คุณทำกิจกรรมอะไรบ้างที่ช่วยรักษาสุขภาพจิตของคุณ เชิญเข้ามาคุยกับเราทางสื่อโซเชียลได้ที่ @asiadotgay ทาง Instagram และFacebook!

Same Author

Get The Latest Updates

Subscribe To Our Newsletter

No spam, notifications only about new articles.