คุณน่าจะมีเชื้อเริมอยู่แล้ว นี่คือสิ่งที่คุณควรรู้

Written by:

Dr Tan Kok Kuan

Dr Tan Kok Kuan

Dr Tan is a medical doctor in private practice focusing on men's health, and a contributing author of the Singapore HIV PrEP prescribing guidelines and the Blueprint to end AIDS and HIV transmission in Singapore by 2030. Read more of his articles at http://drtanmenshealthblog.com.

Share:

Share on facebook
Share on twitter
Share on whatsapp
Share on linkedin
Share on telegram

ADVERTISMENT

เริม หรือ Herpes Simplex Virus (HSV) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง บ่อยจนประมาณกันว่า 30% ของประชากรทั่วโลกมีเชื้อไวรัสนี้ บ่อยจนประมาณกันว่า 30% ของประชากรทั่วโลกมีเชื้อไวรัสนี้ มาลองดูกันครับ

เริมคืออะไร

เริมเป็นเชื้อไวรัส ติดต่อได้ง่ายมากและมักจะถ่ายทอดผ่านการสัมผัสรอยแผลติดเชื้อบนผิวหนัง ซึ่งอาจเป็นตุ่มพองหรือแผลเปิด อย่างไรก็ดี คนที่มีเชื้อเริมในร่างกายยังสามารถถ่ายทอดเชื้อได้จากผิวหนังปกติไม่มีแผลใดๆ นั่นคือสาเหตุที่มักถ่ายทอดผ่านการสัมผัสทางเพศและการจูบ เริมจึงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก

เมื่อติดเชื้อเริมแล้ว มันจะหลบซ่อนในเซลล์ประสาทและไม่สามารถกำจัดออกไปจากร่างกายได้หมด อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะอยู่ในร่างกาย แต่ก็ไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ ยกเว้นอาการปัญหาทางผิวหนังเป็นครั้งคราว อาการเหล่านี้จะหายได้ทั้งด้วยการรักษาและไม่ได้รักษา

เริมมีอาการอย่างไรบ้าง

เริมจะสลับไปมาระหว่างสองระยะ คือ ระยะเฉียบพลันหรือแสดงตัว มีตุ่มพองหรือรอยแผลแตกบนผิวหนัง กับระยะเรื้อรังหรือระยะแฝง ที่รู้สึกปกติไม่มีอาการอะไรเลย

ระยะเฉียบพลัน

ในระยะเฉียบพลัน ตุ่มพองที่เต็มไปด้วยเชื้อเริมจะปรากฏขึ้นบนผิวหนัง ตุ่มพองนี้จะมีขอบเป็นวงบวมแดง จนทำให้ได้รับการขนานนามว่า “หยดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบ”

ตำแหน่งที่เกิดรอยแผลบ่อยที่สุดคือ บริเวณปากและอวัยวะเพศ หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา รอยแผลเหล่านี้จะแห้งตกสะเก็ดภายในสามถึงสี่สัปดาห์ แต่ระยะนี้ก็เป็นระยะที่ถ่ายทอดเชื้อได้มากที่สุด เมื่อตุ่มพองนี้แตก ของเหลวที่เต็มไปด้วยเชื้อเริมจะสามารถทำให้คนที่สัมผัสติดเชื้อได้ การแตกของตุ่มพองยังทำให้เจ็บ และเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้หายยากขึ้น

นอกจากนี้ยังถ่ายทอดเชื้อได้ในระหว่างที่แผลเริ่มหาย เพราะยังมีเชื้อไวรัสอยู่บนผิวหนังในระหว่างกระบวนการสมานตัวเอง หมายความว่าเมื่อรอยแผลแห้งก็ยังถ่ายทอดเชื้อไวรัสได้ จนกระทั่งผิวหนังกลับมาอยู่ในสภาพเดิมเท่านั้นที่จะถือว่าระยะเฉียบพลันสิ้นสุดลงแล้ว ถุงยางอนามัยอาจช่วยป้องกันคู่ของคุณได้ แต่ก็อาจคลุมรอยแผลได้ไม่หมด คู่ของคุณก็ยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้

ดังนั้นผมจึงแนะนำผู้ที่อยู่ในระยะเฉียบพลันว่า

  • ให้รักษาทันที
  • คอยระวังไม่ให้ใครสัมผัสตุ่ม/รอยแผล
  • อย่าใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น
  • งดเว้นกิจกรรมทางเพศอย่างน้อยสามสัปดาห์จนกระทั่งรอยแผลหายสนิท

ระยะแฝง

ในระยะเรื้อรังหรือระยะแฝง ไวรัสเริมยังอยู่ในร่างกายอย่างเงียบๆ ไม่มีกิจกรรมอะไร คุณจะรู้สึกปกติในระยะนี้ เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเชื้อเริมจะเปลี่ยนจากระยะแฝงไปเป็นระยะเฉียบพลันเมื่อไหร่ เหมือนกับคนที่เกิดเป็นงูสวัดถ้าเคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน

ผู้ป่วยบางคนอาจอยู่ในระยะแฝงหลายปี ในขณะที่บางคนก็อาจจะมีระยะเฉียบพลันกำเริบกลับมาทุก 1-2 เดือนก็ได้ ส่วนใหญ่แล้ว ความถี่ของการกำเริบนี้มักจะลดลงไปเรื่อยๆ ในช่วง 12 เดือนแรกหลังติดเชื้อเริม มักจะกำเริบเฉลี่ยทุก 1-2 เดือน แล้วลดไปเป็น 3-4 เดือนในช่วงหนึ่งปีต่อมา แล้วลดลงไปเรื่อยๆ จนคงที่ สำหรับคนส่วนใหญ่จะกลับมีอาการซ้ำประมาณปีละครั้ง

ในสภาวะที่ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ จะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะมีอาการเฉียบพลัน ตัวอย่างเช่น ป่วยด้วยโรคอื่น รวมถึงไข้หวัดธรรมดา หรือการกินยาที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลงเช่น สเตียรอยด์ หรือการอดหลับอดนอนหลายคืน

ผู้ที่มีเชื้อเริมยังถ่ายทอดเชื้อได้ในช่วงระยะแฝง ทั้งที่ไม่มีอาการ โดยปล่อยเชื้อไวรัสออกมาจากผิวหนังปกติแม้ว่าจะไม่แสดงอาการใดๆ แถมยังรู้สึกปกติดี อย่างไรก็ดี อัตราการถ่ายทอดเชื้อในช่วงระยะแฝงนี้ต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเฉียบพลัน

จะตรวจเริมได้อย่างไร

วิธีตรวจเริมมีสองวิธี คือ การตรวจเลือดกับการใช้การสำลีป้ายเก็บตัวอย่างจากตุ่ม/รอยแผล

รักษาเริมได้อย่างไร

เริมเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด เมื่อติดเชื้อแล้ว จะมีเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิต แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่มีเชื้อเริมต้องได้รับการรักษาเสมอไป

บางคนที่เริมกำเริบห่างมาก หรืออาการน้อยมากจนหายได้เองภายในไม่กี่วันโดยไม่ต้องรักษาและไม่รู้สึกรำคาญ คนส่วนมากเลือกที่จะไม่รักษาอาการเริมเฉียบพลัน และนั่นก็โอเคครับ

ยาต้านเชื้อไวรัส เป็นวิธีหลักในการรักษาเริม มีทั้งประเภทยาเม็ดรับประทาน และครีมทา นอกจากนี้มีสองยุทธศาสตร์ในการรักษาเริม คือรักษาตามอาการ และการรักษาแบบกดเชื้อไว้ การรักษาแบบกดไว้ไม่ได้มุ่งจะรักษาให้หายขาด แต่เพื่อลดโอกาสกลับมาเกิดซ้ำ

สรุป

เริมเป็นเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยมากและอยู่ในร่างกายตลอดชีวิต โรคนี้มีผลข้างเคียงระยะยาวน้อย นอกจากอาการเฉียบพลันเป็นครั้งคราว สิ่งสำคัญที่สุด คือ การปรึกษาแพทย์โดยเร็ว ได้รับการวินิจฉัย และวางแผนจัดการกับเริมเฉียบพลันเมื่อปรากฏขึ้น